Flat Preloader Icon

Barcode Supply

Ribbon Label and Supply

หมึกพิมพ์ริบบอนและกระดาษสติ๊กเกอร์ เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด ซึ่งมีหลากหลายประเภทให้แนะนำ

Slider

หมึกพิมพ์ ริบบอน

เป็นส่วนประกอบหนึ่งของเครื่องพิมพ์สติกเกอร์บาร์โค้ด หมึกพิมพ์ริบบอนนั้นจะแบ่งตามการใช้งานและเนื้อวัสดุ
ซึ่งจะมีอยู่ 3 ชนิดหลัก ๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ Wax, Wax/Resin, Resin

1. Wax Ribbon

หมึกพิมพ์ริบบอนเนื้อ Wax เป็นหมึกพิมพ์ที่มีเนื้อเป็นสีดำชัดเจน มีความทนทานน้อยกว่าเนื้ออีก 2 ชนิด แต่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุด เนื่องจากมีราคาถูกกว่าชนิดอื่นๆ เหมาะสำหรับใช้พิมพ์กับกระดาษหรือสติกเกอร์ตระกูลฉีกขาด เช่น TTR, Gloss, กระดาษ Direct เพื่อใช้กับการพิมพ์สติกเกอร์ทั่วไปหรือพิมพ์บาร์โค้ดราคาที่ไม่เน้นความทนทาน

2. Wax/Resin Ribbon

หมึกพิมพ์ริบบอนเนื้อ Wax/Resin เป็นหมึกพิมพ์ที่มีเนื้อเป็นสีเทา มีความทนทานต่อรอยขีดข่วนมากกว่าเนื้อ Wax แต่น้อยกว่าเนื้อ Resin ซึ่งราคาจะแพงกว่าเนื้อ Wax แต่ถูกกว่าเนื้อ Resin เช่นกัน เหมาะสำหรับใช้พิมพ์กับกระดาษและสติกเกอร์ตระกูลฉีกขาดและตระกูลฉีกไม่ขาดบางชนิดหรือวัสดุกันน้ำ เช่น TTR, Gloss, UPO, PVC เป็นต้น เพื่อใช้กับการพิมพ์สติกเกอร์ที่ต้องการความทนทานมากยิ่งขึ้น เช่น ฉลากยา, สินค้าส่งออก เป็นต้น

3. Resin Ribbon

หมึกพิมพ์ริบบอนเนื้อ Resin เป็นหมึกพิมพ์ที่มีเนื้อเป็นสีตาลเทาและมีความใสกว่า Wax มีความทนทานต่อรอยขีดข่วนที่สุดและทนความร้อนความเย็นและสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งราคาจะสูงเช่นกัน เหมาะสำหรับใช้พิมพ์กับกระดาษและสติกเกอร์ตระกูลฉีกไม่ขาดหรือวัสดุกันน้ำ เช่น UPO, PVC, FOIL, PET เป็นต้น เพื่อใช้กับการพิมพ์สติกเกอร์ที่ต้องการความทนทานเป็นพิเศษ เช่น ติดทรัพย์สิน เป็นต้น

กระดาษสติกเกอร์

กระดาษและสติกเกอร์บาร์โค้ด ใช้สำหรับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดสติกเกอร์ เพื่อสำหรับติดสินค้าต่าง ๆ มีเนื้อกระดาษให้เลือกหลายชนิด เช่น เนื้อกระดาษ UPO,
PVC, Foil, TTR, Gloss และกระดาษ Direct เป็นต้น โดยสามารถใช้ได้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทุกชนิด ขึ้นกับขนาดและหน้ากว้างของสติกเกอร์

ส่วนประกอบของสติกเกอร์ จะมีทั้งหมด 4 ชั้น ดังนี้

  1. Face Stock – ผิวหน้าของสติกเกอร์ ไม่ว่าจะเป็น PVC, PP, PET, UPO, กระดาษ, ฟิล์ม, ผ้า เป็นต้น
  2. Adhesive – ชั้นกาว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกาวอะครีลิค
  3. Release Coating – ชั้นซิลิโคนที่เคลือบอยู่บนวัสดุรองหลัง เพื่อช่วยให้สามารถลอกออกได้ง่าย
  4. Backing/Liner – วัสดุรองหลังที่เป็นกระดาษหรือแผ่นฟิล์ม เพื่อช่วยให้สติกเกอร์เรียบตึง

ชนิดของสติกเกอร์

จะแบ่งเป็น 2 หมวดหมู่หลัก ๆ คือ สติกเกอร์ประเภทฉีกขาด และ สติกเกอร์ประเภทฉีกไม่ขาด

1. ประเภทฉีกขาด

  • TTR (ขาวด้าน) เป็นสติ๊กเกอร์ที่มีลักษณะสีขาวนวล เนื้อเรียบเป็นพิเศษ เหมาะกับงานพิมพ์สติ๊กเกอร์แบบ pre-printed หรือสติ๊กเกอร์ที่มีการสั่งพิมพ์สีจากทางโรงงาน เพราะจะได้ในเรื่องของความคมชัด สวยงาม นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ริบบอน
  • Gloss (Semi Gloss,กึ่งมันกึ่งด้าน) สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายทั่วไป เช่น ติดราคา ติดรายละเอียดสินค้าที่มีการเปลี่ยนมือไว การใช้งานต้องไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชื้นหรือร้อนเกินไป ไม่ป้องกันการขูดขีด หมึกบนสติ๊กเกอร์มีโอกาสหลุดร่อนตามระยะเวลาการใช้งาน สามารถฉีกขาดได้ มีความมันเงาเล็กน้อย นิยมใช้มาก เนื่องจากราคาถูก เพื่อลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด
  • Direct Thermal เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์แบบความร้อนที่ไม่ต้องใช้ตัวกลาง (หมึกพิมพ์ริบบอน) ในการพิมพ์ ในตัวกระดาษจะมีเคมีที่จะเกิดสีเมื่อโดนความร้อนในปริมาณที่พอเหมาะ โดยหัวพิมพ์ซึ่งมีตัวกำเนิดความร้อนจะทำหน้าที่ส่งความร้อนมาที่กระดาษ ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี และทำให้สีของกระดาษเปลี่ยนแปลง สติ๊กเกอร์ชนิดนี้จะมีราคาสูงกว่าเนื้อสติ๊กเกอร์ทั่วไป เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้หมึกพิมพ์ริบบอน นิยมใช้ในงานที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น สินค้าบริโภคต่างๆ เพราะเนื้อสติ๊กเกอร์จะมีผลกระทบเมื่อโดนความร้อน หรือแสง UV

2. ประเภทฉีกไม่ขาด

  • UPO /PP Matt เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์ชนิดพลาสติก มีความทนทานสูง ฉีกไม่ขาด สามารถกันน้ำได้ สติ๊กเกอร์มีทั้งชนิดขาวมัน และขาวด้าน แต่ราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากวัตถุดิบไม่ใช่กระดาษ แต่ถ้าเลือกชนิดขาวด้านราคาจะถูกกว่านิดหน่อย เหมาะกับงานอุตสาหกรรมอาหาร งานห้องเย็น งานทรัพย์สิน นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ริบบอนสองประเภท คือเนื้อ wax/resin และ resin ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของลูกค้า
  • PVC สติ๊กเกอร์ชนิดนี้มีความคงทน นิยมใช้สำหรับงานประเภทที่ต้องโดนน้ำ โดนแดดเป็นเวลานาน มีคุณสมบัติคือมีความเหนียว และความยืดหยุ่นสูง สามารถกันน้ำได้ 100 % และทนความร้อนได้ 40-60 องศาเซลเซียส  ซึ่งเหมาะสำหรับงานประเภท สติ๊กเกอร์โลโก้  สติ๊กเกอร์ติดแก้วน้ำ  สติ๊กเกอร์ติดกระจกรถยนต์
  • Foil เป็นสติ๊กเกอร์เนื้อหนาสีเทา มีราคาค่อนข้างสูงจึงเหมาะกับงานที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า เนื่องจากคุณสมบัติที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับงานที่ต้องการความคงทน เช่น งานทรัพย์สิน, งานอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ ซึ่งต้องการสติ๊กเกอร์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนความร้อนได้สูง ขูดไม่ออก นิยมใช้คู่กันกับหมึกพิมพ์ริบบอนเนื้อ resin เนื่องจากเป็นริบบอนที่ทนต่อการขูดขีดเช่นเดียวกัน
  • PET (Polyethylene Terephalate) เป็นสติกเกอร์เกรดดีมากมีความคงทนต่อความร้อนได้สูงถึง 200 องศา ทั้งยังสามารถเปียกน้ำได้อีก 100% มักนำไปใช้กับสินค้าที่ต้องทนอยู่กับความร้อนสูงนาน ๆ อย่างเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสติกเกอร์ที่ไม่ได้นำมาใช้งานทั่วไปมากนักเนื่องจากมีราคาที่แพง เหมาะกับติดผิวเรียบ เนื่องจากมีความตึงผิวสูงมาก ฉลากสติ๊กเกอร์ PET นั้น ที่นิยมสีฉลากที่เห็นจะมีลักษณะเป็นสีเงินด้าน งานพิมพ์บ่งชี้เป็นตัวอักษรข้อความลัญลักษณ์ต่าง ๆ
Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า
Home
Solutions
Products
Service
Contact